ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง



เป็นแมลงปากดูด ลำตัวมีขนาดเล็ก อ่อนนุ่ม มีไขแป้งปกคลุมลำตัว มีเส้นแป้งอยู่รอบลำตัว ที่พบระบาดในมันสำปะหลัง ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 4 ชนิด ได้แก่

1. เพลี้ยแป้งลาย พบระบาดทั่วไปแต่ยังไม่เคยสร้างปัญหารุนแรงต่อผลผลิตมันสำปะหลัง ลักษณะที่สำคัญที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ ตัวเต็มวัยเพศเมียค่อนข้างยาวรี มีเส้นแป้งยาว 1 คู่ทางส่วนท้าย หากแป้งด้านหลังหลุดออกจะมองเห็นจุดสีเข้ม 2 แถบ ทางด้านหลัง

2. เพลี้ยแป้งสีเทา หรือเพลี้ยแป้งแจ็คเบียดส์เล่ย์ คล้ายกับชนิดแรกต่างกันที่ด้านข้างมีเส้นแป้งจำนวนมาก รอบลำตัว

3. เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว ตัวเต็มวัยเพศเมียคล้ายรูปไข่มีสีเขียวอ่อนแตกต่างจาก 2 ชนิดแรก คือ มีเส้นแป้งด้านข้างสั้นและด้านหลังมีแป้งปกคลุมน้อย

4. เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ตัวเต็มวันเพศเมียคล้ายรูปไข่มีสีชมพูรูปร่างคล้ายชนิดที่ 3 แต่แตกต่างกันที่มีสีชมพู และแตกต่างจาก 2 ชนิดแรก คือ มีเส้นแป้งด้านข้างสั้นและด้านหลังมีแป้งปกคลุมน้อย


การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังมีมานานแล้ว แต่ไม่เคยทำความเสียหายรุนแรง สำหรับเพลี้ยแป้งที่ทำความเสียหายให้กับมันสำปะหลังอย่างรุนแรงคือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู
เพลี้ยแป้งลาย เพลี้ยแป้งสีเทาู


เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ คือ เพศเมียไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ สำหรับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูวางไข่ลักษณะเป็นฟองเล็ก ๆ ในถุง ไข่มีสีเหลืองอ่อน ลักษณะยาวรี มีใย คล้ายสำลีหุ้มไว้ เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีเข้มขึ้น ระยะไข่ประมาณ 8 วัน ตัวอ่อนลอกคราบ 3 ครั้ง ตัวอ่อนวันแรก มีลำตัวยาวรีสีเหลืองอ่อน เป็นวัยที่เคลื่อนที่ได้ และมองเห็นขา 6 ขา ได้ชัดเจน อายุประมาณ 4 วัน จะลอกคราบเป็นวัยที่ 2 หลังจากลอกคราบจะไม่เห็นส่วนของขาและเริ่มสร้างแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ระยะตัวอ่อนวัยที่ 2 ประมาณ 4 วัน และระยะที่ 3 ประมาณ 5 วัน จะเป็นตัวเต็มวัย ระยะเวลาตั้งแต่ระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21 วันเท่านั้น และวางไข่ได้มากถึง 500 ฟอง




ความเสียหาย
การระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ระยะห่างจากพื้นที่ระบาด สภาพภูมิอากาศ ลักษณะของดินที่ปลูก และอายุมันสำปะหลังขณะถูกทำลาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชและเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ดังนี้

ต้นทุนสูงขึ้น การระบาดขณะต้นมันสำปะหลังอายุน้อย มีความรุนแรงมากกว่าการระบาดในต้นที่อายุมาก ในกรณีที่รุนแรงมากอาจต้องไถทิ้งและปลูกใหม่ แต่มักประสบปัญหาระบาดซ้ำอีก เนื่องจากยังมีเพลี้ยแป้งหลงเหลืออยู่บนเศษซากต้น และมีการระบาดจากแปลงข้างเคียง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ท่อนพันธุ์เพิ่มขึ้น และพ่นสารฆ่าแมลง
ผลผลิตลดลงชัดเจน จากการสุ่มเก็บผลผลิตมันสำปะหลังในแปลงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่พบการระบาด พบว่าผลผลิตลดลงประมาณ 20-80 เปอร์เซ็นต์ และในเขตที่ปลูกมันสำปะหลังข้ามปี การปลูกข้ามแล้งอาจทำให้หัวมันเน่าได้

การใช้สารฆ่าแมลงมากและใช้ไม่ถูกต้อง เช่น เกษตรกรใช้สารฆ่าแมลงไม่เหมาะกับชนิดของ
แมลงศัตรูพืช บ่อยครั้งที่พบว่าเกษตรกรไม่รู้จักชนิดของศัตรูพืช และไม่มีความรู้ในการจำแนกชนิดของแมลงศัตรูพืช ทำให้การใช้สารกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด “แมลงดื้อยา”
เขตกรรมต้องเปลี่ยน เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดการระบาด โดยอาศัยปริมาณฝนที่มากพอและมี
ฝนตกติดต่อกัน จะช่วยลดความเสียหายของเพลี้ยแป้งได้ รวมทั้งการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ต้นมันสำปะหลังอุดมสมบูรณ์ ต้นมันสำปะหลังที่แข็งแรงสมบรูณ์เพลี้ยแป้งจะไม่ค่อยเข้าทำลาย
ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ ธุรกิจเอกชน สมาคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรจะต้องร่วมมือกันหาทางในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพื่อลดความเสียหายและลดผลกระทบดังกล่าว
การใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น