เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง



ปัญหาเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

ปัจจุบันการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังกลายเป็นปัญหาสำคัญและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ รายงานการระบาดเมื่อต้นปี 2551 และขยายวงออกไปตามแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ระยอง ชลบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรีและนครราชสีมา สาเหตุสำคัญของการระบาดอย่างกว้างขวางคือ การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีเพลี้ยแป้งไปปลูกโดยไม่มีการจัดการให้ท่อนพันธุ์สะอาดก่อน ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง ในปี 2552 ที่คาดว่าจะมีถึง 27 ล้านตัน ลดลงเหลือประมาณ 19 ล้านตันเท่านั้น ซึ่งกระทบต่อธุรกิจมันสำปะหลังโดยตรง และกระทบการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งทำความเสียหายต่อมันสำปะหลัง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ยอด และตา ในส่วนของต้นที่ยังอ่อนอยู่ ยอดที่ถูกทำลายจะงอหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นจะบิดเบี้ยวมีช่วงข้อถี่ ทำให้มีผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือไม่สามารถสร้างหัวได้ เพลี้ยแป้งจะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝนโดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แปลงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

การระบาดในช่วงอายุน้อย อาจทำให้ต้นตายได้ หัวมีขนาดเล็ก และแป้งต่ำ
เพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยงจากมันสำปะหลัง โดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อยาวแทงเข้าไปในส่วนของใบ ยอด หรือตาจากนั้นก็จะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวๆ ออกมา เรียกว่า มูลหวานซึ่งจะเป็นที่อาศัยและอาหารของราดำ เมื่อราดำเจริญเติบโตทำให้การสังเคราะห์แสงของมันสำปะหลังเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่

ชนิดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง


ที่มา:กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น