การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มากำจัดโรคพืช,ไตรโคเดอร์มา


เชื้อไตรโคเดอร์มา คืออะไร
เป็นเชื้อราปฏิปักษ์สามารถควบคุม เชื้อราไฟทอปธอราที่เป็น สาเหตุของโรคเหี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเชื้อไตรโคเดอร์มา จะเข้าทำลาย เส้นใยเชื้อราไฟทอปธอรา ด้วยการพันรัด หรือแทง เข้าไปภายในเส้นใย
ของเชื้อไฟทอปธอรา
จุดเด่นของการใช้ เชื้อไตรโคเดอร์มา คือ เป็นการควบคุมโรคพืช โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติกำจัดสิ่งมีชีวิตที่เป็น
สาเหตุของโรคพืชด้วยกัน

การเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้สำ หรับผลิตขยายเชื้อราประกอบด้วยเมล็ดข้าว เปลือกหรือเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงพลาสติก
8’ - 10’ คอขวดสำหรับ เพาะเห็ด สำ ลี หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา จากอาหารวุ้น

การเขี่ยเชื้อ
นำ เมล็ดข้าวเปลือกหรือเมล็ดข้าวฟ่างต้มให้สุก มาบรรจุถุงแล้วเขี่ยเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเหลือง
ใส่คอขวดอุดด้วยจุกสำ ลีแล้วนำไปเก็บในที่ร่ม

การเก็บรักษา
นำ ถุงที่เขี่ยเชื้อแล้วไปเก็บในที่ร่ม อุณหภูมิปกติมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ทิ้งไว้ 7 วัน เชื้อราก็จะเจริญเติบโตกระจาย
ทั่วถุงมีลักษณะสีเขียว สามารถนำ ไปใช้ได้

วิธีการใช้
นำ เชื้อที่เจริญอยู่ในถุง 1 กิโลกรัม ( 3 ถุง ) ผสมกับรำละเอียด 10 กิโลกรัม และ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่วและพรมนํ้าให้ชุ่ม กองไว้ในที่ร่ม แล้วคลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 7 วัน ก็นำ ไปใช้ได้เลยหรือผสมเสร็จใหม่ ๆ ก็นำ ไปใช้ได้เลยเช่นกัน (ไม่ต้องทิ้งไว้ 7 วัน )

การนำไปใช้
เชื้อ 1 กิโลกรัม ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม รำ 10 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากันนำไปใช้ได้เลยนำไปโรยก้นหลุมก่อนปลูก 1 - 2 ช้อนแกง/หลุม และ หว่านโคนต้นอีกครั้ง ก่อนพริกจะออกดอกประมาณ 10 วัน หรือ หลังจากปลูกได้ 45 วัน อัตรา 1 - 2 ช้อน แกง/ต้น หลังหว่านแล้วการให้นํ้าก็ให้ตามปกติ ได้เลย แต่อย่าให้นํ้าขังแฉะเกินไป

ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด เป็นวิธีการที่เกษตรกรหรือผู้ใช้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพราะเชื้อชนิดสดอาจไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เชื้อสดเป็นเชื้อที่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่ออยู่ในสภาพอุณหภูมิปกติ โดยสปอร์ของเชื้อซึ่งมีสีเขียวเข้มจะงอกและเจริญกลับเป็นเส้นใยสีขาวใหม่อีกครั้ง เส้นใยดังกล่าวจะอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมภายนอกถุงเชื้อ สูญเสียคุณภาพและประสิทธิภาพได้ง่ายกว่าเชื้อในรูปสปอร์สีเขียว ดังนั้น ข้อจำกัดที่สำคัญประการหนึ่งของเชื้อสดคือ ต้องนำเชื้อสดไปใช้ทันที อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกร หรือผู้ใช้ยังไม่พร้อมที่จะใช้เชื้อสดที่มีอายุครบ 7 วันแล้ว ต้องเก็บรักษาเชื้อสดไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส และไม่ควรเก็บไว้นานเกินกว่า 15 วัน
นอกจากนี้ ผู้ใช้เชื้อสดควรระลึกไว้เสมอว่า การใช้เชื้อสดใส่ลงไปในดินที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญและการเพิ่มปริมาณเชื้อ เช่น ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัด เกินไป ดินมีความเค็มสูง โครงสร้างของดินหรือเนื้อดินมีลักษณะแน่นทึบ การระบายอากาศและความชื้นไม่ดี ดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำ อาจทำให้การใช้เชื้อสดไม่ประสบผลสำเร็จได้ สำหรับข้อควรระวังต่าง ๆ ในการใช้เชื้อสดนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นมีดังนี้
1. ควรฉีดพ่นน้ำเชื้อสดในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น กรณีที่บริเวณซึ่งจะฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย ควรใช้วัสดุอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหว่านปกคลุมผิวดิน
2. ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นน้ำเชื้อหรือหว่านเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หรือให้น้ำทันทีหลังฉีดพ่นหรือหว่านเชื้อ เพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดินและความชื้นในดินจะช่วยให้เชื้อเจริญได้ดี
3. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่เหมาะกับการใช้ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ควรเป็นปุ๋ยที่ผ่านกระบวนการหมักโดยสมบูรณ์แล้ว ( เย็นแล้ว ) หรือเป็นปุ๋ยที่กองทิ้งไว้จนเก่าแล้ว ไม่ควรใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมด้วยปุ๋ยยูเรีย
4. ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทุกชนิดคลุกเคล้าหรือผสมร่วมกับเชื้อสดเพื่อใช้พร้อมกันทีเดียว
5. กรณีที่ต้องการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์-เคมี (ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ) ทั้งชนิดผงหรือชนิดอัดเม็ด ให้ผสมได้ แต่ต้องหว่านทันทีที่ผสมเสร็จ ห้ามผสมแล้วเก็บไว้ในกระสอบ หรือกองไว้ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาอาจได้รับอันตรายจากปุ๋ยเคมี
6. เมื่อผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ให้ใช้หว่านทันที ห้ามบรรจุลงในกระสอบหรือกองทิ้งไว้ เพราะอาจเกิดความร้อนในกองปุ๋ย เป็นอัตรายต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้ ดังนั้นจึงควรเตรียมส่วนผสมของเชื้อสด รำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ให้พอใช้ในแต่ละครั้ง
7. ถ้าผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์ (เก่าหรือหมักดีแล้ว) โดยไม่ใส่รำข้าว สามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยใส่กระสอบหรือกองไว้ในที่ร่มและเย็น และควรคลุมด้วยพลาสติกหรือกระสอบ เพื่อรักษาความชื้นในเนื้อปุ๋ยเอาไว้ให้อยู่ที่ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์
8. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่ใส่รำข้าว เมื่อใช้หว่านลงดินจะได้ปริมาณเชื้อน้อยกว่ากรณีที่ใช้รำข้าวผสมด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่าเชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่มีรำข้าวมีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้เช่นกัน
9. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมี 3-5 วัน
10. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลังหว่านปูนโดโลไมท์ ปูนขาว หรือสารปรับสภาพดินไปแล้ว 5-7 วัน
11. การฉีดพ่นสารเคมีควบคุมโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืช เหนือพื้นดิน ไม่มีผลกระทบต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน แม้ว่าสารเคมีเบโนบิล และคาร์เบนดาซิม อาจมีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มาได้ระยะหนึ่ง
12. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ทุกครั้ง ในกรณีของการปลูกพืช ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชไร่ หรือใช้ปีละ 2-3 ครั้ง ในกรณีของไม้ผลยืนต้น (ใช้บ่อย ๆ ไม่มีอันตรายต่อพืช)
13. ควรใช้เศษหญ้า เศษใบไม้ หรือวัสดุต่าง ๆ คลุมผิวดิน เพื่อรักษาความชื้นในดินไว้ ซึ่งจะช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญได้ดี และมีชีวิตอยู่รอดในดินได้นานยิ่งขึ้น
14. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือวัสดุอินทรีย์ลงดินเป็นระยะ ๆ โดยแบ่งใส่ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา
และเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
15. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผสมรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์หว่านลงดินในช่วงของการเตรียมดินก่อนการปลูกพืช และใช้น้ำเชื้อสดฉีดพ่นลงดินบนแปลงปลูกหรือรอบโคนต้น หรือใต้ทรงพุ่มในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตต่อเนื่องเป็นระยะๆ
16. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดเก็บรักษาได้ไม่นาน และมีประสิทธิภาพควบคุมโรคสูงกว่าการใช้เชื้อในรูปผงแห้ง
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา
1. ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินมีหน่วยวัดเป็น หน่วยโคโลนี / กรัม เช่น ตรวจพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน 105 หน่วยโคโลนี / กรัม หมายความว่าในดิน หนัก 1 กรัม มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ 100,000 หน่วยชีวิต ( สปอร์ ) ที่จะเจริญเป็นเส้นใยได้
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใส่ลงดินแล้ว จะมีชีวิตอยู่รอดได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ดินร่วนซุยดี มีอินทรีย์วัตถุสูง มีใบไม้/เศษพืชปกคลุมดินเสมอ เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะอยู่รอดโดยมีปริมาณสูงได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ได้ในดินลึกกว่า 30 เซนติเมตรจากผิวดิน แต่จะเจริญสร้างเส้นใยเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคพืชได้ดีในความลึกช่วง 5 - 10 เซนติเมตร จากผิวดิน
4. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาติดต่อกันนานหลายปีไม่ทำให้เชื้อโรคพืชเกิดความต้านทานได้ แต่กลับเป็นผลดี คือ จะช่วยป้องกันโรคพืชได้อย่างต่อเนื่อง
5. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพียง 1 สายพันธุ์ไม้ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มารหลายสายพันธุ์ร่วมกัน
6. เชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืชที่ปลูก และสภาพแวดล้อม
7. การต่อเชื้อไตรโคเดอร์มาบ่อย ๆ อาจเกิดเชื้อกลายพันธุ์ที่เจริญได้ไม่ดี สร้างเส้นใยแต่ไม่สร้างสปอร์สีเขียว และไม่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้
8. กรณีที่พืชแสดงอาการของโรคขั้นรุนแรง ควรใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล โฟซีทิลอัล ( อาลีเอท ) กรดฟอสโฟนิค ( โฟลีอาร์ฟอส ) แมนโคเซบฯ ร่วมด้วยได้ ถ้าจะใช้สารกลุ่มเบโนมิล หรือคาร์เบนดาซิมควรใช้ก่อนหรือหลังใส่เชื้อไตรโคเดอร์มา 7 วัน
9. สามารถใช้สารเคมีควบคุมแมลงศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี ได้ตามปกติในระหว่างการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา แต่ห้ามผสมเชื้อกับสารเคมี
10. ถ้าดินปลูกพืชเป็นกรดจัด คือ ค่าพีเอชต่ำ ( 3.5-4.5 ) จำเป็นต้องปรับค่าพีเอสให้มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5 - 6.5 ก่อนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
11. เชื้อราไตรโคเดอร์มาพบได้ในดินเกษตรกรรมทั้งไป แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกเชื้อหรือทุกสายพันธุ์นั้นจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ ต้องผ่านการวิจัยทดสอบเสียก่อน

ข้อดีและข้อจำกัดเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
ข้อดี
1. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดมีความพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมได้ทันทีที่ลงสู่ดิน ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อ เช่น สามารถเจริญและสร้างเส้นใยภายใน 3-5 ชั่วโมง เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
2. เชื้อสดจะสามารถเจริญและเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว และมีปริมาณมากกว่าเชื้อชนิดผงแห้ง
3. เกษตรกรสามารถผลิตใช้ได้ด้วยตนเองโดยวิธีที่ไม่ยุ่งยากและต้นทุนการผลิตต่ำ
4. มีวิธีการนำไปใช้ได้หลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม
5. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส หัวเชื้อในขวดที่ใช้ไม่หมด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็น แล้วนำมาใช้ต่อได้

ข้อจำกัด
1. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผลิตได้ไม่สามารถเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมได้ที่อุณหภูมิปกติ ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส
2. ระยะเวลาในการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในตู้เย็นอุณหภูมิ 8 - 10 องศาเซลเซียส มีจำกัด คือ กำหนดให้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 15 วัน
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดเมื่อผสมรำละเอียดและป๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่า ๆ แล้วต้องใช้ให้หมด
4. สำหรับวิธีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ขั้นตอนการเตรียมยุ่งยากและต้องฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ถ้าฉีดพ่นเวลาเช้าหรือบ่ายต้องให้น้ำตามทันที
5. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเชื้อสด 6 - 7 วัน
6. หลังใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดลงดินแล้ว ต้องรักษาสภาพความชื้นในดินอย่างต่อเนื่อง

แนวทางสู่ความสำเร็จของการเชื้อราไตรโคเดอร์มา
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช เป็นวิธีการทางชีวภาพหรือชีววิธีที่ต้องใช้ตัวเชื้อซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ จึงต้องพึ่งพาอาศัยสภาวะแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ อีกหลายประการ นอกเหนือจากคุณภาพและประสิทธิภาพของตัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาเอง ดังนั้นผู้ที่จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชให้ประสบผลสำเร็จ จึงต้องเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและเข้าใจอย่างจริงจังหรือพยายามทำความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช ประกอบด้วย
1. คุณภาพและประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ต้องเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก ศึกษาวิจัยทั้งด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพควบคุมโรคมาเป็นอย่างดีแล้ว
ต้องเป็นเชื้อที่เจริญสร้างสปอร์ได้ดีและรวดเร็ว บนวัสดุอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุอินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ
ต้องสามารถแข่งขันและต่อสู้ทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด
ต้องดำรงชีวิตอยู่รอดได้ดีในสภาพธรรมชาติที่มีความแปรผัน
ต้องเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มามาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือมีหมายเลขทะเบียนแสดงการรับรองจากรมวิชาการเกษตรบนฉลากและบอกวันหมดอายุ
2. วิธีการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ต้องใช้เชื้ออย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติและข้อควรระวังที่แนะนำไว้
ต้องใช้เชื้อตามอัตราที่กำหนด
ต้องใช้เชื้อในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เชื้อเพื่อป้องกันโรค ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการใช้เชื้อเพื่อรักษาโรค
3. การจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
- ปรับปรุงสภาพดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
- คลุมผิวดินด้วยเศษซากพืช เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน ด้วยปูนมาร์ล หรือโดโลไมท์
- การขุดดินตากแดด เพื่อปริมาณเชื้อโรค
- การตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค หรือแต่งให้ทรงพุ่มโปร่ง
- การขุดร่องระบายน้ำ ป้องกันสภาวะน้ำขังในสวน/แปลงปลูก

ข้อสำคัญ
เนื่องจากเชื้อไตรโคเอร์มาเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ ไม่ควรผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีโดยตรง และไม่ควรใช้สารกํจัดวัชพืชในแปลงที่มี การใช้เชื้อไตรโคเอร์มา เพราะอาจทำ ให้เชื้อนี้ตายได้ มีการทดสอบการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อประโยชน์ในด้านควบคุมโรคพืช ได้อย่างชัดเจนในหลายประเทศ ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา โดย ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง ภาควิชาโรคพืชคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเวลานานจนยอมรับการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อควบคุมโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราไฟทอปธอราที่มีประสิทธิภาพ
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
ที่มา:กรมส่งเสริมการเกษตร http://esc.agritech.doae.go.th/webpage/e-book/trai-cro-der-ma.pdf
:สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1


3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26.6.55

    ขอยืมไปใช้หน้อยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ27.9.55

    มีวิธีการผลิตเชื้อรา Trichoderma sp. ชนิดผงไหมค่ะ อยากได้ขั้นตอนในการผลิตค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24.3.56

    ซื้อชนิดผงเลยมีชาย

    ตอบลบ