การเพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง






วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดในโอ่ง 
1.โอ่งมังกร (โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว) จำนวน 1 ใบ
2.ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าหรือเห็ดถุงชนิดอื่นๆ จำนวน 20 ก้อน
3.ตาข่ายพรางแสง หรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน
4.ไม้ไผ่ตีเป็นตะแกรง ขนาดความกว้าง ยาว ให้พอดีกับขนาดโอ่งที่เตรียมไว้
5.กรอบไม้ทำฐานรองพื้นโอ่ง (ด้านนอก)
6.ทรายหยาบ รองพื้นโอ่ง

7. เชือกฟาง
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง
เตรียมโอ่งน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จากนั้นทำความสะอาดแล้วจับนอนตะแคงไว้ในที่ร่ม หาไม้ 2 อันตัดให้พอดีกับโอ่ง นำไปนอนพาดในท้องโอ่ง นำเห็ดที่พร้อมเปิดดอก มาเรียงทับกัน ประมาณ 10 -15 ก้อน ต่อ 1 โอ่ง วางเป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อไม่ให้ก้อนเห็ดติดกับผนังโอ่ง เวลาแดดส่องจะไม่ร้อน จุลินทรีย์พลายแก้ว ป้องกันกำจัดราโรคเห็ดการกำจัดไรเห็ด

วิธีการเปิดดอกเห็ด
1.ดึงกระดาษหนังสือพิมพ์ออก
2.ค่อยๆ ดึงคอขวดพลาสติกออก
3.ดึงสำลีออก ก้อนเห็ดที่จะทำการเปิดดอกได้ก็ต้องให้เส้นใยสีขาวของเห็ดเดินกินขี้เลื่อยจนเต็มเสียก่อนเสียก่อนถ้าเส้นใยยังเดินไม่เต็มก้อนแล้วไปเปิดดอกก่อนก้อนเห็ดจะเสียไปเพราะว่าก้อนเห็ดจะดึงความชื้นจากน้ำที่เรารดเช้าเย็นทำให้หน้าก้อนเสีย การทำดอกของก้อนเห็ดถ้าเป็น ฮังการี่ พอเราเก็บดอกออกมาวันนี้ อีก 15 วัน ก็จะทำดอกต่อไปออกมาอีก แต่ต้องรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น ถ้าเป็นเห็ดภูฐานดำถ้าเก็บดอกออกไปแล้วอีกประมาณ 10 วัน ก็ดอกจะออกมาอีก เมื่อเปิดดอกเสร็จก็เริ่มรดน้ำ ใช้แก้วตักน้ำมารดบริเวณกึ่งกลางก้อนเห็ด ที่ก้อนบนสุดแล้วน้ำจะไหลผ่านลงมาด้านล่าง ให้รดน้ำ เช้า กลางวัน เย็น แต่ถ้ากลางวันไม่มีเวลารดน้ำก็ไม่เป็นไร เพราะว่าเห็ดในท้องโอ่งจะช่วยให้เห็ดมีความชุ่มชื้น
หาผ้าหรือกระสอบเก่าๆ มาชุบน้ำคลุมหลังโอ่ง เพื่อให้โอ่งเย็นนานขึ้น แล้วหาไม้มาค้ำ บริเวณปากโอ่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
4.หลังจากเปิดดอกแล้วรุ่นที่ 2 เห็ดเริ่มมีขนาดที่เล็กลง ควรมีการเพิ่มแร่ธาตุอาหารเสริม ให้ก้อนเชื้อเห็ด เพราะจะทำให้เส้นใยเห็ดมีธาตุอาหารที่เพียงพอ ดอกมีความสมบูรณ์ สามารถยืดอายุของก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 3-4 เดือน ที่สำคัญมีความปลอดภัยต่อที่ผู้ปลูกและผู้บริโภค
(ใช้วิธีนี้ในช่วงอากาศร้อนจัด แต่ถ้าหน้าฝนหรือหน้าหนาว ไม่ต้องปิดหน้าโอ่งเลย ถ้าโอ่ง อยู่ในที่ร่ม)
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
วิธีการเก็บดอก
ใช้มือเปิดปากถุงแล้วกดที่โคนดอกเห็ดโยกซ้าย-ขวา เห็ดจะหลุดออกมา

ข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการ
        การเพาะเห็ดจะต้องอาศัยความชื้นและอุณหภูมิ ดังนั้น การเพาะเห็ดโดยใช้โอ่งดินเป็นโรงเรือน แล้วนำก้อนเชื้อเห็ดวางบนไม้ในโอ่งวางแบบนอนตะแคง จากนั้นรดน้ำลงไป ทำให้น้ำไหลลงไปด้านล่างของไม้
วิธีการดังกล่าว สามารถอธิบายได้ว่าน้ำที่อยู่ด้านล่างของโอ่ง เป็นตัวให้ความชื้นเห็ดอย่างสม่ำเสมอ โอ่งเป็นโรงเรือนที่ทำมาจากดินเผ่า สามารถเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดี เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เห็ดก็สามารถออกดอกได้เหมือนโรงเพาะเห็ดทั่วไป วิธีนี้อาจจะได้เห็ดน้อยกว่าวิธีการทั่วไป แต่เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ประหยัดพื้นที่ปลูกและมีต้นทุนต่ำ


ข้อแนะนำสำหรับการเพาะเห็ดโอ่ง

ควรระมัดระวังในช่วงวันที่ 1-3 ถ้าร้อนเกินไป ให้เปิดกระสอบป่านหรือตาข่ายพรางแสงเพื่อระบายความร้อน
หลังเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมองเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆ เกิดขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด ในช่วงนี้ต้องระวังเรื่องการรดน้ำ อย่าให้ดอกเห็ดโดนน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้นดอกจะฝ่อและเน่าเสียหาย แต่ยังคงต้องพ่นน้ำให้ความชื้นอยู่ทุกวัน
ประมาณ 7-10 วัน เห็ดจะออกดอกเก็บรับประทานได้ สามารถเก็บดอกเห็ดมารับประทานได้แล้วทุกวัน จนกว่าดอกเห็ดจะหมดไป ใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน
น้ำที่ใช้สำหรับการรดก้อนเชื้อเห็ดจะต้องเป็นน้ำที่จืด มีค่า pH เป็นกลาง ไม่มีคลอรีนเจือปน เรื่องน้ำที่ใช้รดก้อนเห็ดนั้นสำคัญมาก ถ้าน้ำกร่อยหรือเค็มจะส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก

น้ำที่ดีที่สุดคือ น้ำฝน หรือจะใช้น้ำประปาที่ผ่านการขจัดคลอรีนออกแล้วก็ได้ผลดีเช่นกัน (การรองน้ำประปาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จะช่วยขจัดคลอรีนออกไปได้)
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล
วิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพเพาะเห็ดบ้านท่าช้าง
50/1 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 65150

จุลินทรีย์พลายแก้ว ป้องกันกำจัดราโรคเห็ด
จุลชีพกำจัดปลวก
การกำจัดไรเห็ด เห็ดดอกดกใหญ่ กำไรดีด้วยแร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น