จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย ทริปโตพลัส


จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย ทริปโตพลัส

ปัญหาเกี่ยวกับเพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งจะก่อความยุ่งยากใจแก่เกษตรกรใน บ้านเราเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ปลูก มันสำปะหลัง, กล้วยไม้ ,ข้าว ,พริก, มะเขือ, มะละกอ และ น้อยหน่า ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้สารเคมีทั้งชนิดออกฤทธิ์เฉียบพลันและชนิดดูดซึมนำมาฉีดพ่นเพลี้ยทั้งหลายเหล่านี้เพื่อหวังจะให้ตายให้ได้ดังใจ แต่บางครั้งก็มีปัญหาคือฉีดแล้วเพลี้ยไม่ตาย เพราะฉีดพ่นไปแล้วสารเคมีไม่ได้เข้าไปสัมผัสโดนตัวหรือน้ำที่ผสมมีความกระด้างทำลายฤทธิ์ยาทำให้ยาเสื่อม หรือฉีดโดนก็โดนเฉพาะตัวพ่อตัวแม่ที่อยู่ด้านบนตัวที่อยู่ซ้อน ๆ ลงไปด้านล่างไม่โดน จึงทำให้หยุดหรือระงับการทำลายของเพลี้ยไม่ได้ จึงมักจะใช้สารเคมีไม่ค่อยได้ผล และอีกสาเหตุที่สำคัญก็คือ ในเพลี้ยแป้งเขามีเกราะป้องกันซึ่งธรรมชาติให้มานั่นก็คือผงแป้งฝุ่นสีขาว ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนแป้งเด็กทั่วไปที่มีคุณสมบัติ ลดอาการผดผื่นคัน หรือช่วยให้ผิวแห้งเนียน ลื่นสบายจากความเปียกชื้นจากน้ำ เพราะน้ำจะไหลลื่นผ่านไปไม่สัมผัสกับผิวหนังของเด็ก เพราะฉะนั้นผงแป้งสีขาวจึงมีส่วนที่ช่วยเหลือป้องกันเพลี้ยอ่อน(ผิวมีไขแวกซ์)และเพลี้ยแป้งให้หลุดพ้นจากการเปียก เปื้อนจากยาฆ่าแมลงด้วยเหมือนกัน คือฉีดแล้วไม่สามารถทะลุทะลวงไปสัมผัสกับตัวของ เขาได้

ปัจจุบันทางชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้กับเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งและเพลี้ยอื่นๆเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยไฟได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ จุลินทรีย์ “ทริปโตพลัส” เป็นจุลินทรีย์ประเภทรากินแมลง รากลุ่มนี้มีการใช้แพร่หลายทั่วโลกมานานกว่า40ปีแล้ว จึงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์,ลิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมื่อนำมาฉีดพ่นในอัตรา 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ก็จะทำให้เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งนั้นถูกทำลายลงอย่างราบคาบ แต่ก็มีเทคนิคอยู่นิดนึงครับ คือก่อนที่จะนำเชื้อ “ทริปโตพลัส” ไปผสมกันกับน้ำฉีดพ่น ขอแนะนำให้ใช้ น้ำยาล้างจาน หรือสารเปียกใบ เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 20 ซี.ซี. (3-4ช้อนแกง)ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงค่อยนำเชื้อ “ทริปโตพลัส” ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งใต้ใบ บนใบ ประสิทธิภาพของน้ำยาล้างจานจะค่อย ๆ ชะล้างผิวแวกซ์ทำลายเกราะป้องกันของเพลี้ยแป้งเพลี้ยอ่อนออกไป นั่นก็คือผงฝุ่นละเอียดลักษณะคล้ายแป้งสีขาวๆ ซึ่งจะถูกชะล้างออกไปแล้วเปิดจุดอ่อนให้ตัวจุลินทรีย์เข้าถึงเป้าหมายได้ อย่างง่ายดาย หลังจากที่เราได้ทำลายเกราะป้องกันแล้ว จุลินทรีย์ “ทริปโตพลัส” ที่สัมผัสผิวเพลี้ยจะค่อย ๆ งอกออกจากสปอร์เจริญเป็นเส้นใยชอนไช แทงเข้ากินและทำลายผิว จากนั้นเชื้อราจะทำลายกินปกคลุมทั้งตัวของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยอื่นๆ แมลงที่สัมผัสเชื้อจะเริ่มมีอาการป่วยในวันที่3-4 โดยแมลงที่ป่วยจะหยุดกินอาหาร ไม่ทำลายพืชแต่เรายังเห็นตัวอยู่ ในวันที่5-7 แมลงเริ่มตาย ไปเรื่อยๆ และสังเกตดีๆแมลงจะตายคล้ายๆแบบแห้งตายเพราะถูกเชื้อราดูดกินน้ำเลี้ยงนั่นเอง
เทคนิคการฉีดคือฉีดพ่นในช่วงเย็นแดดไม่จัดหรือไม่มีแดด ฉีดพ่นให้ทั่วถึง ทั้งบนใบ ใต้ใบ กิ่ง ก้าน โคน กอ หรือที่คิดว่าเพลี้ย แอบหลบซ่อนอยู่ ฉีดให้เปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ปกติฉีด7-15วันครั้ง หากเป็นช่วงระบาด ฉีด ติดต่อกันวันเว้นวันประมาณ 3 ครั้ง ควรฉีดตามจังหวะ ตรวจสอบปริมาณเพลี้ยในสวนในไร่เป็นประจำถ้าเริ่มมีให้รีบฉีดทันทีเพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่พันธุ์และตัดวงจรการระบาด
หนอนกำจัดได้ด้วยจุลินทรีย์ :ขอบคุณข้อมูล :อำพล สุขเกต
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น