โรคดอกหงิกเห็ด,เห็ดดอกหงิก, ปํญหาเห็ดดอกหงิก เห็ดสกุลนางรมดอกหงิก

เห็ดสกุลนางรม(Genus Pleurotus) เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฏาน เห็ดฮังการี และเห็ดเป๋าฮื้อ
      ลักษณะอาการอาจเกิดจาก เชื้ออ่อนแอ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป หรืออากาศร้อนจัด
อาการที่เกิดกับดอกเห็ด เห็ดจะเป็นจุดกละ ดอกมีขนาดเล็ก หมวกดอกไม่บาน ขอบดอกหงิกงอหยักไปมา หรือขอบดอกม้วนออก หรือก้านดอกยาวบิดเบี้ยวไม่มีหมวก เห็ดหรือก้านดอกเห็ดใหญ่ผิดปกติ หมวกดอกมีลักษณะเป็นกรวยคล้ายปากแตร
ครีบ ดอกหงิกงอบางดอกครีบหยักเป็นคลื่น
สี  ดอกเห็ดมีสีขาวนวล หรือสีขาว หรือสีเทา
อาการที่เกิดกับเห็ดเป๋าฮื้อ
      พบบก้านดอกสั้นผิดปกติ ลีบไม่สมบูรณ์ หมวกดอกเล้กบิดเบี้ยว ดอกไม่คลี่บาน ขอบดอกหยักโค้งไปมา บางดอกขอบดอก ม้วนลงมีลักษณะหงิกงอ และพบติ่งเล็กๆ บนก้านดอกเดียวกัน
      สี ดอกมีสีเทาดำ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

การแก้ปัญหาการเพาะเห็ด
      - การควบคุมการถ่ายเทอากาศ ควรมีการควบคุมการถ่ายเทอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควรเิปิดประตูระบายอากาศ ในช่วงเวลากลางวัน
      - แสงสว่าง ควรมีแสงสว่างให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดอ่อน หมั่นสังเกตุความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ
      - ความชื้น ความชื้นภายในโรงเรือน และความชื้นภายนอกโรงเรือน ควมชื้นในโรงเรือนระยะเปิดดอกควรอยู่ระหว่าง 80-90 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูหนาว จะมีปัญหาเรื่องอากาศแห้ง ความชื้นต่ำ ไม่ควรเปิดประตูหน้าต่างมากเกินไป เพิ่มการให้น้ำโดยรดน้ำที่พื้นโรงเรือน 2-3 ครั้งต่อวันหลังจากนั้นควรเปิดพื้นโรงเรือนให้มีการระบายอากาศ
      -  สูตรอาหาร การดัดแปลงสูตรอาหารที่เพิ่มธาตุอาหารบางตัวลงไปทำให้วัสดุเพาะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ธาตุอาหารปลี่ยนไปและส่งผลมายังลักษณะของดอกด้วย
ที่มา: การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ กลุ่มงานจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร
การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตร

การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
น้ำส้มควันไม้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1




 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น