วิธีการขอรับรองแหล่งผลิต GAP


การผลิตพืชตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP)
GAP ย่อมาจากคำว่า “Good Agricultural Practice” ซึ่งแปลว่า “เกษตรดีที่เหมาะสม” เป็นระบบที่สร้างผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ หรือได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้อง ตั้งแต่การเพาะปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการตกค้างของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนเชื้อโรคต่างๆ จึงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และได้ผลผลิตที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทั้งสามารถตรวจสอบและสอบทวนได้

การเข้าสู่ระบบ GAP
เกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าสู่ระบบ GAP ต้องยื่นคำร้องตามแบบ GAP-01 แล้วจะมีการตรวจประเมินระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติงาน โดย “ผู้ตรวจรับรอง”ที่ได้รับมอบหมายจากกรมวิชาการเกษตร สิ่งที่กำหนดให้ประเมินคือ แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก การใช้วัสดุอันตรายทางการเกษตร การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง การบันทึกข้อมูล การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช การจัดการกระ บวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

การบันทึกข้อมูล
เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในขั้นตอนการผลิตทุกระยะ ให้มีการตรวจสอบได้หากเกิดข้อบกพร่องขึ้น สามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที ได้แก่
1. สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นและปริมาณน้ำฝน
2. พันธุ์ วันที่ปลูก และระยะการเจริญเติบโตที่สำคัญ เช่น วันออกดอกและวันติดผล
3. วันที่ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ชนิดและอัตราปุ๋ย
4. วันที่ศัตรูพืชระบาด ชนิดและปริมาณศัตรูพืช
5. วันที่พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ชนิดและอัตราการใช้สาร
6. วันเก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่าย ปริมาณ คุณภาพ ราคาผลผลิตและรายได้
7. ปัญหา อุปสรรค ตลอดฤดูปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง
เมื่อผ่านการตรวจสอบ จะได้ใบรับรองแหล่งผลิตพืช(GAP) จากกรมวิชาการเกษตร

ความเสี่ยงในระบบการผลิต มี 4 ประการคือ
1. การปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ามและสารเคมีควบคุมศัตรูพืช
2. การปนเปื้อนของเชื้อโรคคน
3. การปนเปื้อนของธาตุโลหะหนัก จากดิน น้ำ สารคลุกเมล็ด ฯลฯ และ
4. การปนเปื้อนระหว่างการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลิตผล
เกษตรกรจึงต้องตรวจสอบแหล่งกำเนิดของการปนเปื้อนทั้ง 4 ประการข้างต้น และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว

วิธีการขอการรับรองแหล่งผลิต GAP
ผู้ที่ต้องการขอการรับรองแหล่งผลิต GAP สามารถยื่นใบสมัครเพื่อขอการรับรองได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ทุกแห่งทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีเอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นดังต่อไปนี้คือ

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการขอการรับรอง 2. ใบสมัครขอการรับรอง(สามารถ dowload ได้จากเว็บไซต์.)


*ขอบข่ายและรายชื่อพืชที่กรมวิชาการเกษตรให้การรับรองแหล่งผลิต GAP

*คู่มือปฏิบัติงาน (SOP)

*คู่มือคุณภาพ (QM)

*หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (RE 1)

*หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืช (RE 2)

*การสุ่มตัวอย่างและการจัดการตัวอย่าง


ดาวโหลดเอกสารในการสมัครและรายละเอียดคู่มือการปฏิบัติ

*แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช สำหรับแปลงเดียว

*แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช สำหรับแบบกลุ่ม (F2)

*แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช สำหรับแปลงเดียว (F3)

*แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช สำหรับแบบกลุ่ม (F4)

*แบบคำขอใบแทน หรือคำขอแก้ไขข้อมูลในใบรับรอง (F5)

*แบบคำขอยกเลิกใบรับรอง (F6)


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามชนิดของพืช
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น