โรคและศัตรูเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติก

โรคและแมลงศัตรูเห็ดที่เพาะระบบถุง พลาสติก

จังหวัดในภาคตะวันออก คือชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก มีการทำฟาร์มเห็ดเช่นเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ปัญหาการตลาดคล้ายกัน คือ เห็ดที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะมีบางช่วงที่ผลิตดอกเห็ดมากจนล้นตลาด แต่ถ้าอากาศไม่หนาวเย็นพอ เช่น อากาศร้อนนาน ๆ เห็ดนางฟ้าภูฎานดำแทบจะไม่เกิดดอกเห็ดเลย ระยะนั้นเห็ดขอนและเห็ดกระด้างจะออกดอกดี ส่วนเห็ดนางรมจะออกดอกได้ปานกลาง ทั้งช่วงร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป ส่วนเห็ดยานากิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่นจะออกดอกคราวละไม่มาก ทำให้ต้องใช้โรงเรือนรอบละนานๆ

ปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกขายคือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดบักเตรีสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด การเกิดปัญหาเป็นเพราะสุขอนามัยของฟาร์มเห็ดย่อหย่อน การแปรสภาพถุงเก่าและเศษเห็ดช้าเกินไป ส่วนการที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะมีพิษตกค้างในเห็ดเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันในหลายภูมิภาคได้มีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แก้ปัญหาอย่างได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ เพื่อกำจัดหนอนของแมลง ใช้เชื้อพลายแก้วเพื่อกำจัดเชื้อรา และใช้บาซิลลัส ไมโตฝาจหรือไมโตฟากัส กำจัดไร เป็นต้น

1. เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora sp. และราเมือกสีเหลือง Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะเน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง หรือไม่ควรใส่ในสูตรอาหารเห็ดเลย แก้ปัญหาโดยใช้เชื้อพลายแก้วที่หมักเป็นเชื้อสดแล้ว ฉีดพ่นเข้าไปในบริเวณที่เกิดเชื้อราโรคเห็ด

2. หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกินจุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อไบโอบีที ที่หมักเป็นเชื้อสดแล้วให้ทั่วบริเวณที่หนอนอยู่อาศัย

3. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะเมื่อไรกระจายอยู่ในถุงเห็ดแล้วสารเคมีมักใช้ไม่ได้ผลจริง อีกทั้ง เป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดด้วย แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นน้ำหมักเชื้อไมโตฝาจในบริเวณที่เกิดปัญหาไร

4. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่ พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตพลัสให้ถูกตัวแมลงหวี่หรือบริเวณที่แมลงหวี่มักเกาะอาศัย

5. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก หรือความชื้นมาก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด

สูตรอาหารขี้เลื่อย สำหรับเห็ดถุงที่ประหยัดและผลผลิตดี

แต่เดิมการทำเห็ดถุงโดยใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ จะมีการเติมอาหารเสริมสำคัญคือ รำละเอียด 6% ต่อมามีการเติมหินปูนบด, ยิปซัม, ดีเกลือ, บ้างเติมกากถั่วป่น, เศษพืชป่นที่มีมากในพื้นที่ น้ำตาลทรายแดง, กากน้ำตาล น้ำหมักพืช ฮอร์โมนพืช ฯลฯ ใครว่าใช้อะไรดีก็หามาเติม จนเกิดปัญหาต้นทุนสูง มีกลิ่นดึงดูดแมลงหวี่เห็ด และมด แม้แต่ไร เมื่อสัตว์เหล่านี้มาที่ถุงเห็ดก็ทำให้ถุงเห็ดติดเชื้อปนได้ง่าย มีข้อมูลในวารสารเห็ดไทยเรื่องการใช้ขี้เลื่อยเก่ามาเป็นส่วนผสมกับขี้ เลื่อยใหม่แล้วได้ผลดี ผู้วิจัยอ้างว่าในขี้เลื่อยเก่ามีบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส เชื้อนี้สปอร์ไม่ตายเมื่อพาสเจอร์ไรซ์ แต่กลับช่วยกระตุ้นการเจริญของเส้นใยเห็ด ในประเทศไทยได้นำเชื้อบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส สายพันธุ์พลายแก้ว มาหมักขยายจำนวนแล้วผสมในขี้เลื่อยก่อนทำถุง ซึ่งก็แสดงผลที่ดีมากและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ฟาร์มเห็ดดอนปรูได้ปรับสูตรลงเหลือเพียงขี้เลื่อย 100 กก. แร่ม้อนท์ 3 กก. (หรือภูไมท์ซัลเฟต 5 กก.) รำละเอียด 6 กก. อื่นๆ ตัดออกหมด แต่เติมน้ำหมักพลายแก้วเพื่อป้องกันราและน้ำหมักไมโตฝาจ เพื่อป้องกันกำจัดไร ถ้าจะผลิตถุงเห็ดส่งลูกค้าที่มีปัญหาแมลงหวี่มากก็จะเติมน้ำหมักบีทีด้วย วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดกลิ่นดึงดูดศัตรูเห็ดด้วย ในกรณีของการใช้น้ำหมักและยิปซัมไปได้ทั้งหมด แต่แร่ม้อนท์ให้แร่ธาตุจำเป็นต่างๆ แก่เห็ดไดดีทั้งธาตุรอง และธาตุเสริม เมื่อนำถุงเชื้อมาผลิตดอกเห็ดก็ได้ดอกเห็ดใหญ่ สมบูรณ์ น้ำหนักดี
การกระตุ้น เห็ดกระด้าง (เห็ดบด. หรือเห็ดลม) ให้ออกดอกดีขึ้น
ปกติ สิ่งที่กระตุ้นให้มีการออกดอกของเห็นกระด้างให้เป็นไปด้วยดีนั้น เป็นไปโดยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น ความชื้น, แสงแดด, การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น อากาศเย็นและร้อนอบอ้าว หรือที่ผู้เพาะเห็ดทำอยู่เดิมคือ ปล่อยให้ถุงก้อนเชื้อแห้ง แล้วกลับมารดน้ำให้ชื้นจนพอเหมาะ อย่างไรก็ตามในเห็ดอื่นมีการกระตุ้นด้วยน้ำหมักเชื้อพลายแก้ว แล้วเห็ดออกดอกดีขึ้น เช่นเห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดนางฟ้าครีม เห็ดหูหนู เป็นต้น แต่ในเห็ดลมยังไม่มีผู้รายงานผลการใช้เชื้อพลายแก้วมาก่อน คุณ วรรณา โสภากุล 78/8 หมู่บ้านดงเรือง ต.ผาสุก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ได้ซื้อถุงเชื้อเห็ดกระด้างจากฟาร์มผลิตก้อนเชื้อเพื่อมาเปิดดอก จำนวน 6,000 ถุง การผลิตรอบแรกเห็ดออกดอกไม่ดี เมื่อปรึกษาและรับข้อมูลจากชมรมเห็ดขอนแก่น ก็ใช้การหมักเหมือนที่ใช้ในฟาร์มเห็ดชนิดอื่น คือใช้น้ำ 20 ลิตร ใส่เชื้อพลายแก้ว 1 ซอง ( 5 กรัม ) ไข่ไก่ 1-2 ฟองน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล กวนให้ส่วนผสมเข้ากัน เติมอากาศโดยปั๊มลมแบบที่ใช้ในตู้ปลายสวยงามนาน 24-48 ชม. เวลาจะใช้ก็นำมาเติมน้ำเปล่า พอตอนเย็นฉีดเชื้อพลายแก้ว ทำอย่างนี้ 3 วันติดต่อกัน จากนั้นฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่าเหมือนปกติ ผลปรากฏว่าอีก 3-4 วันต่อมาก็เกิดดอกเห็ดกระด้างขึ้นมากมาย ดอกเห็ดสวยน้ำหนักดี ผลที่ได้นี้เหมือนกันการใช้เชื้อพลายแก้วหมักและฉีดพ่นเห็ดยานางิ และเห็ดนางฟ้าครีมหรือนางรม นับเป็นข้อมูลตรงกัน จากผลที่ได้จะสามารถวางแผนผลิตเห็ดลมหรือเห็ดกระด้างได้ง่ายขึ้นในอนาคต :ขอบคุณข้อมูล : คุณอำพล สุขเกต
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น