โรคและปัญหาที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง

โรคและปัญหาที่สำคัญของการเพาะเห็ดฟาง
1. โรคราเม็ดผักกาด มักเกิดกับกองเห็ดฟางที่ใช้ฟางเก่าเก็บค้างปี ตากแดดตากฝนมาก่อน ส่วนใหญ่มักเกิดกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ลักษณะที่สังเกตเห็นคือเส้นใยของเชื้อรามีลักษณะหนากว่าเส้นใยของเห็ดฟาง เริ่มเกิดขึ้นได้ในวันที่ 3 หรือ 4ของการเพาะและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาจะเกิดเส้นใยแผ่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นวงกลม เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะสร้างส่วนขยายพันธุ์รูปร่างกลมมีสีขาวเมื่ออ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ลักษณะคล้ายคลึงกับเมล็ดผักกาด จึงได้ชื่อว่า ราเม็ดผักกาด ราเม็ดผักกาดทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ทำให้ดอกเห็ดอ่อนมีลักษณะนิ่มกว่าดอกปกติ

2. โรคราเขียว ที่พบมี 3 ชนิด เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินหรืออยู่ในอากาศก็ได้ เมื่อดินหรือวัสดุเพาะมีความชื้น เชื้อราจะเริ่มเจริญขึ้นที่ดินและเจริญต่อไปถึงขี้ฝ้ายและฟางข้าว ราเขียวเป็นราประเภทสร้างสปอร์มากและมีขนาดเล็กปลิวได้ในอากาศ เชื้อราเขียวเหล่านี้เป็นเชื้อราแข่งขันหรือราคู่ของเชื้อเห็ดฟาง ทำให้เห็ดฟางเจริญไม่ทัน นอกจากนี้ราเขียวยังทำลายดอกเห็ดอ่อน ๆ ด้วย เส้นใยของราเขียวขณะอ่อนมีสีขาว ค่อนข้างบาง เมื่ออายุ 3 วันขึ้นไปแล้วเชื้อราจะเริ่มสร้างสปอร์ ซึ่งมีสีเขียวทำให้เกิดระบาดได้ราเขียว 3 ชนิด ดังกล่าว คือ ราเขียว Trichoderma sp.และ Gliocladium sp. มีสีเขียวอ่อนและ / หรือเขียวเข้ม ราเขียว Penicillium sp. มีสีเขียวอมเทา

3.ราขาวนวล เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะสีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อน ๆ พบตั้งแต่วันแรกของการเพาะเห็ด เชื้อรานี้มักจะเกิดบนวัสดุเพาะและเจริญแผ่ขยายติดต่อกันเป็นปื้นใหญ่ ทำให้มองเห็นเป็นก้อน ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ เชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตเร็ว กว่าทำให้บริเวณที่มีเชื้อรานี้ไม่มีเชื้อเห็ดฟางขึ้นเลย ถ้ามีตุ่มดอกเกิดขึ้นเชื้อราชนิดนี้มักเจริญปกคลุมดอกเห็ดเล็ก ๆ หรือทำให้ดอกเห็ดกลุ่มนั้นมีลักษณะผิดปกติหรือดอกเห็ดไม่เจริญต่อไป

4.ราขาวฟู เชื้อรานี้เส้นใยมีลักษณะขาวจัดและฟู มักพบบนหลังกองเพาะ พบตั้งแต่วันแรกหรือวันที่ 2 ของการเพาะเห็ด เมื่อราชนิดนี้อายุมากขึ้นจะมีสีเทา เชื้อรานี้เกิดเร็ว ถ้าเกิดแล้วไปปกคลุมดอกเห็ดทำให้ดอกเห็ดฝ่อ

5.ราเห็ดหมึก หรือเห็ดขี้เมา เห็ดหมึกเกิดได้ทั้งในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรมเห็ดหมึกที่เกิดขึ้นในกองเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม แสดงถึงการหมักฟางไม่ได้ที่ จะมีก๊าซแอมโมเนียหลงเหลืออยู่ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย การเกิดเห็ดหมึกเกิดจากการใช้ฟางเก่าหรือวัสดุเพาะที่มีเชื้อเห็ดหมึกอยู่ สาเหตุอีกประการหนึ่งคือไม่มีการระบายอากาศในกองเพาะ ทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนียในขบวนการหมัก จึงทำให้เกิดเห็ดหมึกได้
แนวทางป้องกันโรค
1. การเลือกหัวเชื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง มีการปนเปื้อนน้อยที่สุด หรือไม่มี
2. เลือกตอซังหรือฟางข้าวนวดที่สะอาดปราศจากเชื้อราเม็ดผักกาด ฟางต้องมีลักษณะแห้งสนิทและอมน้ำได้ง่าย วัสดุเพาะทุกชนิดไม่ควรทิ้งให้ตากแดดตากฝน หรือเก็บค้างปี
3. มีความเข้าใจถึงสภาพความต้องการต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟางเพื่อจะได้ปฏิบัติดูแลกองเพาะอย่างถูกต้อง เช่น เรื่องอุณหภูมิในกองเพาะขณะที่เส้นใยเจริญเติบโตต้องการอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 34 – 40 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าในกองเพาะร้อนหรือเย็นเกินไปก็ควรจะต้องระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนหรือต้องเผารอบกองเพาะ เพื่อให้ความร้อนแก่กองฟางในหน้าหนาว นอกจากนี้ยังควรเจ้าใจเรื่องความชื้น แสงสว่าง และความสามารถในการกินอาหารของเห็ดฟางอีกด้วย ถ้าเป็นการเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม ควรศึกษาถึงการเตรียมปุ๋ยเพาะเห็ดอย่างถูกวิธี ตลอดจนการอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการเพื่อให้ได้ปุ๋ยเพาะเห็ดที่มีคุณภาพดีซึ่งเชื้อเห็ดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด
ที่มา:อำพล สุขเกตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น