จังหวัดในภาคตะวันออก คือชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก มีการทำฟาร์มเห็ดเช่นเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ปัญหาการตลาดคล้ายกัน คือ เห็ดที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะมีบางช่วงที่ผลิตดอกเห็ดมากจนล้นตลาด แต่ถ้าอากาศไม่หนาวเย็นพอ เช่น อากาศร้อนนาน ๆ เห็ดนางฟ้าภูฎานดำแทบจะไม่เกิดดอกเห็ดเลย ระยะนั้นเห็ดขอนและเห็ดกระด้างจะออกดอกดี ส่วนเห็ดนางรมจะออกดอกได้ปานกลาง ทั้งช่วงร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป ส่วนเห็ดยานากิ หรือเห็ด โคนญี่ปุ่นจะออกดอกคราวละไม่มาก ทำให้ต้องใช้โรงเรือนรอบละนานๆ
ปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกขายคือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดบักเตรีสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด การเกิดปัญหาเป็นเพราะสุขอนามัยของฟาร์มเห็ดย่อหย่อน การแปรสภาพถุงเก่าและเศษเห็ดช้าเกินไป ส่วนการที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะมีพิษตกค้างในเห็ดเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันในหลายภูมิภาคได้มีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แก้ปัญหาอย่างได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ เพื่อกำจัดหนอนของแมลง ใช้เชื้อพลายแก้วเพื่อกำจัดเชื้อรา และใช้บาซิลลัสไมโตฝาจหรือไมโตฟากัส กำจัดไร เป็นต้น
1. เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora sp. และราเมือกสีเหลือง Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะเน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง หรือไม่ควรใส่ในสูตรอาหารเห็ดเลย แก้ปัญหาโดยใช้เชื้อพลายแก้วที่หมักเป็นเชื้อสดแล้ว ฉีดพ่นเข้าไปในบริเวณที่เกิดเชื้อราโรคเห็ด
2. หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกินจุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อไบโอบีที ที่หมักเป็นเชื้อสดแล้วให้ทั่วบริเวณที่หนอนอยู่อาศัย
3. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะเมื่อไรกระจายอยู่ในถุงเห็ดแล้วสารเคมีมักใช้ไม่ได้ผลจริง อีกทั้ง เป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดด้วย แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นน้ำหมักเชื้อไมโตฝาจในบริเวณที่เกิดปัญหาไร
4. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่ พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตพลัสให้ถูกตัวแมลงหวี่หรือบริเวณที่แมลงหวี่มักเกาะอาศัย
5. โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก หรือความชื้นมาก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด
ใช้เปลือกมันเพาะเห็ดฟางรายได้ดี
การกำจัดไรในเห็ดหูหนูแบบปลอดสารพิษ
การใช้เชื้อพลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
สนใจผลิตภัณฑ์ คลิกที่นี่>>
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1
ขอบคุณที่มาข้อมูล คุณอำพล สุขเกตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น