สาบเสือ สมุนไพรป้องกันกำจัดเพลี้ย


การใช้ ”สาบเสือ” ป้องกันกำจัด เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก และ หนอนอื่นๆ
ใบของสาบเสือมีกลิ่นฉุนจึงสามารถนำมาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ หนอนในแปลงผัก และใช้เป็นยาเบื่อปลาได้

สรรพคุณทางยา :
ก้าน และใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือดไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือดได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือด ออกเล็กน้อยได้ดี

ผลทางเภสัชวิทยา :
น้ำต้มสกัดจากใบ และต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา แต่ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของกระต่าย น้ำต้มสกัดและผลึกสารที่สกัดได้จากต้นนี้ ไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อมดลูกที่แยกออกจากตัวของกระต่าย หากนำไปฉีดเข้าช่องท้องของหนูเล็ก พบมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อย

การนำมาใช้ทางการเกษตร :
นำต้นสาบเสือและใบมาตากแห้งหรือจะใช้ต้นและใบสดก็ได้เช่นกัน จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ผสมน้ำในอัตราส่วน สาบเสือแห้งบด 5 ขีด ต่อน้ำ 10 ลิตร (ถ้าใช้สดก็ใช้ในอัตราส่วน สาบเสือบด 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 10 10 ลิตร)แล้วคนให้เข้ากันแช่ทิ้งไว้นาน 1 วัน แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบางก่อนนำน้ำหมักที่ได้ไปใช้ ให้ผสมสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู หรือ ผงซักฟอก โดยใช้ในอัตราส่วน น้ำหมักสาบเสือ ครึ่งช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำเปล่า 5 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกๆ 7 วัน ในช่วงเย็น
การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น