การใช้ “มะละกอ” ป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคราแป้ง
ส่วนของใบมะละกอจะมีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราสาเหตุของการเกิดโรคได้ดี เช่น ราสนิม ราแป้ง ราเขียว ราดำ
ชื่อ : มะละกอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya l.inn.
ชื่อวงศ์ : Caricaceae
ชื่อท้องถิ่น : มะก๊วยเต๊ด ก๊วดเทด มะก้วยเทศ หมากซางพอ(เหนือ) , บักหุ่ง (อีสาน), แตงต้น(สตูล), ลอกอ ก้วยลามะเต๊ะ(ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลำตันตั้งตรงสูง 3 – 6 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวงไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาวต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเป็นหยักเว้าลึกคล้ายฝ่ามือ ดอก มีหลายประเภท คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และ ดอกสมบูรณ์เพศ โดยดอกตัวผู้จะมีสีเหลืองนวลหรือสีนวล กลิ่นหอม ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศ จะออกมาเป็นกระจุก หรือ ดอกเดี่ยวสีนวล ผล มีทั้งผลกลม ผลรี แตกต่างกันไปตามสายพันธ์ ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว เมื่อผลแก่หรือสุกจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อในอ่อนนุ่ม น้ำ เมล็ดมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม
การเพาะปลูก : ปลูกได้ทุกภาค ชอบดินร่วนปนทราย น้ำไม่ขัง ต้องการแดดจัด ชอบความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด : รัฐฮาวาย
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
แหล่งที่พบ : บริเวณเขตอบอุ่นและเขตร้อน
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ยางจากใบและผล ผลดิบ ผลสุกเมล็ดแก่
สารสำคัญ :
ยางจากใบมะละกอหรือผล มีน้ำย่อยปาปะอิน (papain) หรือ ที่เรียกว่า ปาปะโยทิน (papayotin) ในส่วนของใบยังมีไกลโคไซด์ ชื่อ carposide และ อัลคาลอยด์ capaine ส่วนผลดิบจะมีสาร petin แต่เมื่อสุกจะมีสาร carotenoid และมีสาร benzyl isothiocyanate ในเมล็ด
การนำมาใช้ทางการเกษตร :
นำใบมะละกอมาหั่นให้ได้น้ำหนัก 1 กิดลกรัม แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร จากนั้นขยำชิ้นส่วนของใบมะกอกับน้ำ เพื่อคั้นเอาแค่น้ำที่ได้จากใบมะละกอ นำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปผสมกับน้ำคั้นที่ได้จากใบมะละกอ ให้ได้น้ำสารละลายทั้งหมด 4 ลิตร ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับน้ำสบู่ประมาณ 15 กรัม คนให้เข้ากันก่อนนำไปฉีดพ่นในแปลงพืชที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น