เลี่ยนสมุนไพรป้องกัน กำจัดหนอน

การใช้ “เลี่ยน” ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ด้วงงวง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตั๊กแตน มอดแป้ง ไรแดงส้ม
เปลือก ของต้นเลี่ยน ใบ ผล และ เมล็ด จะมีสารอยู่หลายชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการ ป้องกันกำจัดและขับไล่แมลง ฤทธิ์ของสารที่มีอยู่ในต้นเลี่ยนจะไปยับยั้งการ กินและการเจริญเติบโตของแมลงได้

ชื่อ : เลี่ยน (Bead Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melia azedarach
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : เลี่ยน(กลาง) เคี่ยน เฮี่ยน(เหนือ) เกรียน เกษมณี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เลี่ยนเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับสะเดา ลักษณะลำต้นและใบมีความใกล้เคียงกันกับสะเดา มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร เป็นต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านออกไปรอบ ๆ ลำต้นเป็นจำนวนมาก เปลือกผิวลำต้นมีสีน้ำตาล มีแผลเป็นร่องตามยาว ลำต้นเจริญขึ้นตรง ทรงพุ่มกลมรูปกรวยโปร่ง ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อย ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย บนใบเกลี้ยงสีเขียวส่วนล่างของใบมีขนสีเขียวอ่อนเห็นเส้นใบชัด ขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกใหญ่ออกตามปลายกิ่งที่ง่าม ใบ ดอกมีฐานรองดอกเล็กมีกลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีสีม่วงอ่อนหรือสีฟ้า กลิ่นหอม ผลกลม รี สีเขียวมีขนาดโตประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
นำใบเลี่ยนสด จำนวน 2 กิโลกรัม หรือ อาจใช้ใบแห้ง จำนวน 1 กิโลกรัม นำมาแช่น้ำ 1 ปี๊บ นาน 2 วัน จากนั้นจึงคั้นเอาแต่น้ำหมักที่ได้ ไปกรอง ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงดังกล่าว อ่านต่อ>>
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น